ฟิล์มและซองบรรจุภัณฑ์
วันนี้บริษัททอมโก้ ออโตเมติกแมชชินเนอร์รี่จำกัด จะพาทุกท่านมาชม ฟิล์มและซองบรรจุภัณฑ์ ชนิดต่างๆที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
1. ชนิดของฟิล์มและซองบรรจุภัณฑ์
ชนิดของฟิล์มมีทั้งหมด 3 ประเภท
- พลาสติกชั้นเดียว เป็นฟิล์มที่มีเนื้อพลาสติกชิ้นเดียวทั้งแผ่น เช่นทำจาก LLDPE เป็นพลาสติกในตระกูล PE มีคุณสมบัติที่สามารถซีลติดกันได้ง่ายเหมาะสำหรับใช้งานกับเครื่องบรรจุที่มีการซีลปิดปากถุงทุกประเภท หรือ PVC, PP ฯลฯ ซึ่งเป็นฟิล์มที่ทำจากพลาสติกเพียงชั้นเดียว
2. พลาสติก 2 ชั้น เป็นฟิล์มที่ทำจากเนื้อพลาสติก 2 ชั้น นำมาประกบกัน เช่น แผ่นฟิล์มที่ทำจากโลหะ (Metallic) ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่กันความชื้น และแสงแดดได้เป็นอย่างดี นำมาติดเข้ากับฟิล์ม LLDPE เพื่อให้ปากถุงสามารถติดกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. พลาสติก 3 ชั้นหรือมากกว่า เป็นฟิล์มที่ทำจากเนื้อพลาสติก 3 ชั้นขึ้นไป นำมาประกบกัน ซึ่งนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในการพิมพ์สี หรือพิมพ์ลายลงบนเนื้อฟิล์ม เช่น ฟิล์ม PP , PET
2. รูปแบบซอง
ซองที่เครื่องห่อแนวนอนสามารถทำได้จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. ซีล 3 ด้านแบบหมอน
2. ซีล 3 ด้าน รูปตัว C
3. ซีล 3 ด้านครึ่ง
4. ซีล 4 ด้าน
5. ซองคู่ (ซองพริกน้ำปลา)
6. ซอง 3 เหลี่ยม
7. ซองจีบข้าง
8. ซองแบบก้นตั้งแบบมีจีบข้าง
9. ซีล 4 ด้านพร้อมปีก
10. ซองก้นตั้ง Pouch Bag
11. ซองก้นตั้งแบบมีจุก
12. ซองก้นตั้งแบบ Gusset Pouch Bag
13. ซองก้นตั้งแบบมีซิป
14. ซอง Pouch แบน
3. ซองบรรจุภัณฑ์
สามารถแบ่งได้สองชนิด คือ
1. ซองสำเร็จรูป ซองที่ผลิตเป็นซองสำเร็จไว้แล้ว โดยนำไปบรรจุลงในแมกกาซีนของเครื่องต่างๆเพื่อใช้งาน เช่น เครื่องบรรจุแบบโรตารี
2. ซองที่ทำจากม้วนฟิล์มโดยเครื่องบรรจุ โดยเครื่องจะทำซองด้วยตัวเครื่องเองจากม้วนฟิล์ม
4. รูปแบบรอยซีล
สามารถสั่งทำรอยซีลได้ 3 แบบคือ
1. ลายเส้นตรงหลายเส้น
2. ลายลูกเต๋า
3. ลายเรียบ
5. การตัดซอง
เครื่องห่อแนวนอนโดยทั่วไปจะทำการตัดซองจนขาด แต่สามารถสั่งทำระบบการตัดซองไม่ให้ขาดได้ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์บางประเภทต้องการให้ซองติดกัน เช่น ซองแบบแพ็คโหลลงกล่อง และไม่ว่าจะตัดซองจนขาด หรือไม่ขาด จะมีรอยตัดมาตรฐานอยู่ 2 แบบคือ
1. รอยตัดรูปฟันปลา
2. รอยตัดตรง
6. รูสำหรับแขวนซอง
สามารถทำระบบเจาะรูซองเพื่อใช้สำหรับแขวนซองได้ โดยจะมีรูปแบบการเจาะอยู่ 2 แบบคือ
1. รูกลม
2. รูแขวนแบบผีเสื้อ
7. การฉีกซอง
รอยฉีกซองมีทั้งหมด 3 ประเภท
1. รอยฉีกรูปครึ่งวงกลม
2. รอยฉีกแบบสามเหลี่ยม
3. รอยฉีกแบบตัดซอง
*** ถ้าเป็นซองที่มีรอยตัดแบบฟันปลาอาจจะไม่ต้องใช้รอยฉีกซอง เนื่องจากผู้บริโภคสามารถทำการฉีกซองจากร่องของฟันปลาได้เลย