เอกสาร SDS คืออะไร?
ในปัจจุบันการนำสารเคมีต่างๆมาใช้ภายในโรงงาน อาทิเช่น หมึกพิมพ์ น้ำยาต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลิตในอุตสาหกรรม สารเคมี มีทั้งคุณ และโทษ และหากสารเคมีถูกนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่มีหนังสือรับรองความปลอดภัย บุคลากรขาดความรู้ ความสามารถในการควบคุมดูแล ก็อาจจะทำให้เกิดความสูญเสีย ทั้งชีวิต และทรัพย์สินได้ ดังนั้นวันนี้ บริษัท ทอมโก้ ออโตเมติก แมชชินเนอร์รี่ จำกัด จะมาอธิบายความสำคัญ ของเอกสารชนิดหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการทุกโรงงานจำเป็นต้องรู้จัก เอกสาร SDS เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดจากการใช้สารเคมีในโรงงาน
Safety Data Sheet (SDS) หรือในบางครั้งเรียกว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) นั้น หมายถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ในปัจจุบันตามประกาศของสหประชาชาติ เรื่อง ระบบการจำแนกและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals, GHS) กำหนดให้ใช้ SDS เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสื่อสารข้อมูลสารเคมีนอกเหนือจากบนฉลาก และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเป็นระบบเดียวกัน จึงกำหนดให้เรียกว่า Safety Data Sheet (SDS) พร้อมกับได้กำหนดรูปแบบและข้อมูลใน SDS ไว้ 16 หัวข้อ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย (Identification of the substance/preparation and of the Company/undertake)
2. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazards Identification)
3. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/Information on Ingredients)
4. มาตรการปฐมพยาบาล (First Aid Measures)
5. มาตรการผจญเพลิง (Fire Fighting Measures)
6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accidental Release Measures)
7. ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา (Handling and Storage)
8. การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัยส่วนบุคคล (Exposure Controls/Personal Protection)
9. คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ (Physical and Chemical Properties)
10. ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Stability and Reactivity)
11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological Information)
12. ข้อมูลเชิงนิเวศน์ (Ecological Information)
13. มาตรการการกำจัด (Disposal Considerations)
14. ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport Information)
15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory Information)
16. ข้อมูลอื่น (Other Information)
และถ้าหากมีการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะไม่มีเอกสาร SDS รับรองความปลอดภัย จะทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย และถ้าหากมีการตรวจสอบจาก Audit และโรงงานของคุณไม่มีเอกสาร SDS รับรองก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย นำไปสู่การฟ้องร้องได้ในที่สุด