เครื่องตรวจจับโลหะในอาหาร
เจาะลึกหลักการทำงานของ เครื่องตรวจจับโลหะ
เครื่อง Metal Detector เป็นเครื่องตรวจจับโลหะ สิ่งแปลกปลอมที่มีคุณภาพสูง ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ตัวอย่างเช่นสินค้าประเภทอาหาร ขนม เนื้อสัตว์ เป็นต้น ซึ่งในกระบวนการผลิต อาจจะมีสิ่งแปลกปลอมปะปนเข้าไปในตัวสินค้า ดังนั้น เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า สินค้าทุกชิ้นที่ผลิตจะปลอดภัย ไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกไปสู่มือผู้บริโภค วันนี้ บริษัท ทอมโก้ ออโตเมติก แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด จะพาท่านผู้อ่านเจาะลึกระบบการทำงาน ของเครื่องตรวจจับโลหะ ว่ามีกรรมวิธีใดในการตรวจสอบและคัดแยกสินค้าที่แปลกปลอมออกจากสายการผลิต

หลักการทำงาน เครื่องตรวจจับโลหะ คือ การสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นมา เพื่อตรวจจับสิ่งที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าที่ปลอมปนเข้ามาในผลิตภัณฑ์ โดยจะทำการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดตัวกลาง ทำให้เกิดการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบๆขดลวนตัวกลาง โดยขดลวดรับทั้ง 2 ด้านทำหน้าที่รับสัญญาณได้เท่าๆกัน

โดยหลักการของหัวตรวจจับโลหะ ขดลวดตัวกลางจะทำหน้าที่ปล่อยสนามแม่เหล็กออกสู่ตัวรับสนามแม่เหล็กทั้ง 2 ข้าง ซึ่งขดลวดตัวรับจะมีระยะห่างเท่ากัน(X) และต้องรับสัญญานเท่ากัน

เมื่อมีวัตถุนำไฟฟ้าผ่านเข้ามาฝั่ง B ทำให้เกิดสัญญานรบกวน ส่งผลให้ขดลวดตัวรับสัญญานทั้ง 2 ฝั่ง รับสัญญานได้ไม่เท่ากัน เครื่อง Metal Detector จะประมวลผล แล้วแจ้งไปยังระบบ reject เพื่อทำการคัดแยกสินค้าออก

BASIC PRINCIPLES

Sample Construction Photos (Multicoil and DAG)




Technical Description
Coil Assembly ความเข้มของสัญญาณยิ่งอยู่ใกล้อุโมงค์ สัญญาณยิ่งมีความเข้มสูง


METAL FREE ZONE
ระยะ Metal Free Zone เป็นระยะที่ไม่ควรมีโลหะมารบกวนการทำงานของสนามแม่เหล็ก


เมื่อสิ่งรบกวนเป็นโลหะ (แม่เหล็กสามารถดูดติด) จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำเส้นแรงแม่เหล็กเข้าหาตัว ขดลวดทั้ง 2 ข้างจะรับสัญญาณไม่เท่ากัน

ในกรณีสิ่งรบกวนไม่ใช่โลหะ ซึ่งมีคุณสมบัติความเป็นสารตัวนำไฟฟ้า ซึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมาอีก มาผลักสนามแม่เหล็กที่สร้างจาก Coil ตัวส่งสัญญาณ ทำให้ขดลวดทั้ง 2 ข้างรับสัญญาณได้ไม่เท่ากัน
หลักการหาโลหะปลอมปนในผลิตภัณฑ์ เมื่อผ่านเครื่องตรวจจับโลหะ

ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ค่า Sensitivity / Detect Level
Sensitivity และค่า Detect Level เป็นค่าที่กำหนดความละเอียดของเครื่อง Metal Detector (จะต้องผ่านสินค้าได้ 100%โดยไม่มีการ Reject ) โดยขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้
-
Product Effect
Dry Product : ผลิตภัณฑ์ไม่นำไฟฟ้า เช่น น้ำกลั่น, แป้ง, สินค้าFrozen Food ที่มีอุณหภูมิ ใจกลางสินค้า -18°C จะมีผลต่อเครื่องน้อย ทำให้ตรวจจับละเอียด
Wet Product : ผลิตภัณฑ์ที่นำไฟฟ้า คือมีส่วนประกอบของน้ำ เกลือ เลือดเป็นส่วนประกอบ ทำให้ตรวจจับได้ยาก
3. Aperture Size
ขนาดอุโมงค์ ยิ่งใหญ่ความละเอียดในการตรวจจับน้อยลง
-
Operating Frequency
High > ตรวจจับได้ละเอียด ใช้กับ Dry Product
Low > ใช้กับสินค้าที่มี Product Effect เช่นไก่สด น้ำพริก
4. Orientation Effect
ทิศทางของโลหะที่ตรวจจับ
ตัวแปรที่มีผลต่อการตรวจจับของเครื่อง Metal Detector
- Orientation Effect ถ้าสิ่งแปลกปลอมไม่เป็นทรงกลม เช่นเส้นลวด เข็ม
- ทิศทางการผ่าน จะมีผลต่อการทำงานของเครื่อง ดังนี้

และนี่ก็คือระบบการทำงานของเครื่องตรวจจับโลหะ ของเครื่อง Metal Detector เพียงเท่านี้คุณก็สามารถมั่นใจได้แล้วว่าผลิตภัณฑ์ สินค้า อาหารของคุณที่ผ่านการตรวจสอบจะถูกส่งไปถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัย พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีค่ะ >>