คู่มือเกี่ยวกับ ข้อกำหนดด้านอาหาร

ข้อกำหนดด้านอาหาร

คู่มือเกี่ยวกับ ข้อกำหนดด้านอาหาร

สำหรับอุตสาหกรรมด้านอาหารนั้นความปลอดภัยของผู้บริโภคถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นด้านความสะอาด คุณภาพของอาหารไปจนถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดข้อกำหนดด้านอาหารขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและเพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชากรไทย

ข้อกำหนดด้านอาหาร_1

ความปลอดภัยด้านอาหารและความสำคัญต่อผู้บริโภค

ความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) หมายถึง การจัดการให้อาหารรวมถึงสินค้าเกษตรที่มีการนำมาทำเป็นอาหารเพื่อการบริโภคสำหรับมนุษย์นั้นมีความปลอดภัย ไม่มีสิ่งปนเปื้อน ไม่มีลักษณะเป็นอาหารที่ไม่บรสุทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากอันตรายที่อาจได้รับจากอาหารทั้งสามด้าน คือ อันตรายทางชีวภาพ, อันตรายทางเคมี และอันตรายทางกายภาพ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาหารโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพราะนั่นหมายถึงสุขภาพและอนามัยของผู้บริโภคนั่นเอง

ข้อกำหนดด้านอาหาร_2

ความปลอดภัยของอาหารในระดับสากล

ในระดับสากล มีการจัดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) หลากหลายระบบ ซึ่งระบบมาตรฐานที่เรารู้จักกันดี มีดังนี้

1. GMP (Good manufacturing Practice) คือ ระบบการจัดการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งระบบนี้ออกแบบเพื่อให้ผู้ผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจของตัวเองได้ เพื่อใช้สำหรับเป็นพื้นฐานในการควบคุมกระบวนการผลิต

2. HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) คือ มาตรฐานสากลเกี่ยวกับการจัดการอันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมในอาหาร โดยผู้ผลิตสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้เช่นเดียวกันกับ GMP หลักการของระบบนี้ก็คือ ในห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารจะมีการควบคุมการปนเปื้อนสารอันตราย สารเคมี จุลลินทรีย์ ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการตรวจรับวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ การบรรจุ การพิมพ์วันที่โดยเครื่องพิมพ์วันที่ การทดสอบสินค้า การขนส่งสินค้า ไปจนกระทั่งส่งถึงมือผู้บริโภค

3. BRC (British Retail Consortium) คือ มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารที่ได้รับการสร้างจากแนวคิดของกลุ่มผู้ค้าปลีกในประเทศอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการจัดการการผลิตอาหารและเครื่องดื่มตลอดทุกกระบวนการของห่วงโซ่การส่งมอบอาหาร (Food Supply Chain) ข้อกำหนดของ BRC สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐานอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

4. ISO22000 (Food Safety Management System: FSMS) คือ ระบบบริหารคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นมาตรฐานที่นำเอาระบบมาตรฐานอื่นๆ คือ GMP, HACCP, BRC, IFS และ SQF มารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้สะดวกในการนำมาประยุกต์ใช้และเพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล สามารถใช้ได้ทั้งอุตสาหกรรมอาหารขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยแบ่งข้อกำหนดเป็น 3 ส่วน คือ

  1. การจัดการขั้นพื้นฐาน เช่น โครงสร้างของโรงงานผลิต เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ และ
  2. การควบคุมจุดวิกฤตโดยใช้ระบบ HACCP เป็นพื้นฐานในการควบคุมมาใช้ในการควบคุม
  3. ISO9001 เป็นมาตรฐานที่กำหนดในเรื่องการจัดการ

5. FSSC22000 คือ มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารใหม่ล่าสุด มีหลักการและแนวปฏิบัติสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO22000:2005 และ BSI-PAS220:2008

ข้อกำหนดด้านอาหาร_3

ความสำคัญของเครื่องพิมพ์วันที่ในด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

หนึ่งในความปลอดภัยด้านอาหารที่มีผลต่อผู้บริโภคคือ ขั้นตอนการบรรจุซึ่งต้องมีการแจ้งรายละเอียดวันที่ผลิต วันหมดอายุไปจนถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น ทั้งนี้เนื่องจากเป็นหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยและเป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของอาหารชนิดนั้นๆ ทำให้การนำ เครื่องพิมพ์วันที่ มาใช้งาน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการอุตสาหกรรมอาหาร เพราะเครื่องพิมพ์วันที่คือเครื่องมือที่สามารถใช้พิมพ์รายละเอียดสำคัญลงบนฉลากอาหารได้อย่างปลอดภัย ช่วยบ่งบอกรายละเอียดที่จำเป็นต่อผู้บริโภค เป็นสื่อกลางที่ผู้ผลิตสามารถแจ้งข้อมูลสำคัญต่อผู้บริโภคได้ ผ่านทางการพิมพ์วันที่และข้อมูลบนฉลากอาหารนั่นเอง

Videojet_2_-01

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า