ความเร็วในการผลิต ของเครื่องพิมพ์วันที่ประเภทต่างๆ
เครื่องพิมพ์วันที่ วันหมดอายุ เครื่องพิมพ์รหัสสินค้า มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมการผลิตที่จำเป็นต้องพิมพ์เครื่องหมายต่างๆ ลงบนผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเลขวันที่ผลิต เลข Lot No.บาร์โค้ด โลโก้ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งการที่จะพิมพ์รายละเอียดดังกล่าวลงไปบนฉลากผลิตภัณฑ์ของเรานั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงวัสดุในการพิมพ์ ปริมาณการผลิตที่ต้องการในแต่ละวันและความเหมาะสมของเครื่องพิมพ์ที่แตกต่างไปกันตามการใช้งาน นอกจากนี้ในการพิมพ์วันที่ด้วยเครื่องจักรก็มีความเร็วแตกต่างกันตามเครื่องพิมพ์แต่ละประเภทด้วย เพราะฉะนั้นในการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ผู้ประกอบการก็ต้องเลือกเครื่องพิมพ์ที่ความเร็วในการพิมพ์เหมาะสมกับกระบวนการผลิตของตน ดังนั้นเพื่อให้ทุกท่านสามารถเลือกเครื่องพิมพ์วันที่ที่เหมาะสมที่สุดได้ วันนี้เราจึงจะพูดถึงความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แต่ละประเภทกันครับ
-
เครื่องพิมพ์วันที่ด้วยระบบอิงค์เจ็ทแบบต่อเนื่อง
เครื่องพิมพ์วันที่อิงค์เจ็ทแบบต่อเนื่อง เป็นการพิมพ์ด้วยระบบการดีดน้ำหมึกผ่าน Nozzle โดยดีดน้ำหมึกในลักษณะจุด ทีละจุดตามแถวแนวนอน อัตราความเร็วในการพิมพ์จึงขึ้นอยู่กับขนาดตัวอักษร จำนวนบรรทัดในการพิมพ์ และ Application ถ้าตัวอักษรขนาดใหญ่มีหลายบรรทัดก็จะใช้เวลาในพิมพ์มากกว่า ส่วนความเร็วในการพิมพ์สูงสุดของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คิดเป็นหน่วยเมตรต่อนาที (m/min)



Small Character Inkjet Printers (CIJ)


- ระบบการเคลื่อนที่แบบไดนามิก - ทำให้มีคุณภาพและอุณหภูมิของการพิมพ์ที่สม่ำเสมอ
- ระบบปั๊มลมแรงดัน +ve ช่วยป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนจากภายนอกอุดตัวหัวฉีด (Nozzle)
-
เครื่องพิมพ์วันที่ ระบบเลเซอร์
เครื่องพิมพ์วันที่ระบบเลเซอร์ จะเป็นการ Mark ที่ Substrate ซึ่งขึ้นอยู่กับ Application ขนาดตัวอักษรและกำลังไฟ มีทั้งการสลักลงไปบน Substrate ซึ่งในกรณีที่ Substrate มีความบาง เครื่องจักรจะใช้การทำให้ตัวอักษรหรือเครื่องหมายนูนขึ้นมาแทนการสลักลงไป เพื่อไม่ให้วัสดุที่บางเกินไปทะลุ ดังนั้นความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์วันที่เลเซอร์นั้น จึงขึ้นอยู่กับขนาดตัวอักษรและความหนาแน่นของ Substrate ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการ Mark บน Substrate ประเภทโลหะ จะต้องใช้กำลังไฟมากขึ้น ความเร็วในการพิมพ์สูงสุด คิดเป็นหน่วยเมตรต่อนาที (m/min)


LASER - Light Amplification Stimulated Emission Of Radiation

- การ Mark ด้วยระบบส่งสัญญาณไม่จำเป็นต้องใช้ระบบระบายอากาศ เครื่องพิมพ์รุ่น 3430 มีระบบทำความเย็นด้วยของเหลว ในขณะที่รุ่นอื่นต้องใช้พัดลมระบายความร้อน
- ความเร็วในการพิมพ์ขึ้นอยู่กับพลังงานที่ใช้ ความเหมาะสมของพื้นผิว กรอบของ Mark ต่างๆ และหัวมาร์คกิ้งที่เลือกใช้
- จุดที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถทำได้เมื่อเราเลือกใช้หัวมาร์คกิ้งขนาดใหญ่
* ขึ้นอยู่กับ Application และ Substrate
-
เครื่องพิมพ์วันที่ระบบ TTO
สำหรับเครื่องพิมพ์วันที่ระบบ TTO เมื่อเครื่องพิมพ์พบสัญญาณสั่งพิมพ์ หัวพิมพ์จะเริ่มทำงานโดยส่งผ่านแรงดันและความร้อนไปยังเนื้อหมึกบนแผ่นริบบอน (เนื้อหมึกตอนเริ่มต้นทำงานจะยังคงเป็นสถานะของแข็ง ณ อุณหภูมิห้อง) ความเร็วในการพิมพ์มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรต่อวินาที (mm/sec)



- เครื่องพิมพ์ TTO นั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับการพิมพ์บนแผ่นฟิล์มที่มีความยืดหยุ่น ต้องการความละเอียดสูงและคุณภาพการพิมพ์ที่สามารถสแกนได้
- หัวกรอเทป (Cassette) ออกแบบให้มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน ดีที่สุดสำหรับอุตสาหกรรม
- มาพร้อมรหัสการรับประกันเพื่อรองรับความผิดพลาดจากการใช้งานและบริหารจัดการความเสี่ยง
- เครื่องพิมพ์วันที่ระบบ DOD
เครื่องพิมพ์วันที่ระบบ DOD หรือที่เราเรียกกันว่าเครื่องพิมพ์กล่อง ลักษณะการใช้งานนั้นใช้เพื่อการพิมพ์กล่อง มีความคล้ายคลึงกับเครื่องพิมพ์วันที่ในกลุ่ม CIJ แต่จะต่างตรงที่ CIJ จะดีดหมึกผ่าน Nozzle ทีละจุด แต่เครื่อง DOD จะสามารถพิมพ์ทุกจุดในตัวอักษรนั้นๆ ได้พร้อมกันในครั้งเดียว ความเร็วในการพิมพ์จึงขึ้นอยู่กับความสูงกว้างของตัวอักษร จำนวนบรรทัดและ Application ที่ต้องการพิมพ์ หน่วยความเร็วในการพิมพ์คือเมตรต่อนาที (m/min) ตามตาราง


Large Character Machine

- ทำงานได้ทั้งบนพื้นผิวที่มีรูพรุนและไม่มีรูพรุน รองรับความละเอียดทั้งต่ำและสูง
- เป็นการพิมพ์วันที่และข้อมูลต่างๆ ที่ประหยัดมากกว่าเมื่อเทียบกับการติดฉลาก
เครื่องพิมพ์วันที่แต่ละประเภทก็มีลักษณะการทำงานและความเร็วในการพิมพ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นสำหรับเจ้าของธุรกิจแล้ว เราจึงต้องเข้าใจลักษณะของสายการผลิตของเราว่าบรรจุภัณฑ์หรือฉลากสินค้าของเรานั้นเหมาะสมกับเครื่องพิมพ์ประเภทไหน เพื่อให้การพิมพ์ฉลาก วันที่ รวมถึงเครื่องหมายต่างๆ ลงบนบรรจุภัณฑ์ออกมารวดเร็วและมีประสิทธภาพมากที่สุดครับ